วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

วันทหารผ่านศึก



วันทหารผ่านศึก


ความหมาย

วันทหารผ่านศึก เป็นวันที่ทหารไทยกลับมาจากการรบสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการช่วยเหลือครอบครัวทหาร ที่เสียชีวิตจากการรบ มีการสงเคราะห์โดยผ่านการเห็นจากรัฐบาล มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น

หน้าที่ของทหารผ่านศึก คือ การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาและการจัดหาอวัยวะเทียม และยังมีการสงเคราะห์ด้านอาชีพ โดยฝึกอบรมอาชีพ จัดหางานในต่างประเทศ และการสงเคราะห์ด้านเกษตรกรรม จัดหาที่ดินทำกินให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือ และกองทุนต่างๆ จัดหาเงินให้สมาชิก ได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพอีก และยังมีการรักษาพยาบาลฟรี โดยการส่งเสริมของทหารผ่านศึกโดยการขอสิทธิพิเศษด้านต่างๆ เช่น ขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น

กิจกรรมวันทหารผ่านศึก

การบริจาคจากประชาชน อาจเป็นการนำเอาผลผลิตของทหารมาจำหน่ายกับประชาชนก็ได้ เช่น การทำดอก ป๊อปปี้ ออกไปขายสู่ประชาชนและอาจมีการตั้งกองทุนขึ้นทุกๆปี
เนื่องในโอกาสวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้จะเป็นวันคล้ายวัน สถาปนาองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและ เป็นวันทหารผ่านศึก ทางทีมงานวันว่างได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลประวัติจาก "รายการใจถึงใจ" แผนกสารนิเทศกองบัญชา การ ทหารสูงสุด ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของทหารหาญ ที่เป็นกองกำลังในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับอริราช ศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ทหารทุกคนต่างสละได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ร่างกายและลมหายใจ ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของ ทหารหาญเหล่านั้น รัฐบาลจึงหาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือมาตลอด โดยในสมัย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2488 โดยเรียกชื่อว่า "คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน"

ครั้นต่อมา จำนวนของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานโดยคณะกรรมการจึงไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เรียกชื่อย่อว่า "อผศ" เพื่อเป็นหน่วยงานถาวรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวนทหารผ่านศึก ต่อมาสภาทหารผ่านศึก สภากลาโหม และรัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อขยายการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และ พลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ

องค์การได้ให้การสงเคราะห์ประเภทต่างๆ แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึกและนอกประจำการ กล่าวคือ ให้การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล การสงเคราะห์ด้านส่งเสริมสิทธิและเกียรติ


สำหรับในวันทหารผ่านศึกประจำทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้กำหนดให้มีพิธีและกิจกรรมต่างๆ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและความเสียหายของเหล่าทหารผ่านศึกทั้งหลาย โดยในช่วงระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ จะเป็นการประกอบ พิธีทางศาสนาพุทธ คริสต์ และ อิสลามรวมทั้งพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 จะมีพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพิธีสวน สนามสดุดีทหารผ่านศึก ณ ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและประชาชน ชาวไทยยังคงระลึกถึงและไม่ลืมเลือนวีรกรรมที่เหล่าวีรชนทหารผ่านศึกได้เคย ประกอบเพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน และ เพื่อคนไทยทั้งปวง