วันนักข่าว/วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ( 5 มีนาคม)
วันนักข่าว/วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ทุกวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี
วันนักข่าว หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ในประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับ วันสถาปนา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน)
วันนักข่าว หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ในประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับ วันสถาปนา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน)
ความสำคัญของนักข่าว
ปัจจุบันข่าวสารข้อมูลกำลังกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่ความจำเป็นดังกล่าวไม่ใช่เพียงเนื้อหาของข่าวแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวก็มีความสำคัญ ในฐานะคนกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนไปยังผู้ อ่านด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบคนทำข่าวเฉกเช่นกระจกสะท้อนสังคมก็คงไม่ผิดอะไรนัก เพียงแต่ควรจะสะท้อนทุกด้านอย่าสะท้อนเพียงด้านเดียวเท่านั้น
ในแวดวงหนังสือพิมพ์มีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวว่า “ฐานันดร 4” ความหมายโดยนัยคือ ผู้มีสถานะแตกต่างจากบุคคลอื่นตามธรรมดาทั่วไป หรือแปลความหมายในลักษณะผู้มีอภิสิทธิ์ในการขีด เขียน เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางสื่อมวลชน
กว่าจะมาเป็นวันนักข่าว
ในแวดวงหนังสือพิมพ์มีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวว่า “ฐานันดร 4” ความหมายโดยนัยคือ ผู้มีสถานะแตกต่างจากบุคคลอื่นตามธรรมดาทั่วไป หรือแปลความหมายในลักษณะผู้มีอภิสิทธิ์ในการขีด เขียน เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางสื่อมวลชน
กว่าจะมาเป็นวันนักข่าว
วันที่ครั้งหนึ่งบุคคลที่อยู่ในวิชาชีพข่าวสาร เคยถกเถียงกันอย่างคร่ำเคร่งพอสมควรว่า...เราควรให้ความสำคัญ หรือไม่ให้ความสำคัญ?
กลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรให้ความสำคัญ ให้เหตุผลว่า เพราะนักข่าวควรเป็นบุคคลที่ถ่อมตัว สมถะ ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประชาชน เพื่อชุมชนและเพื่อประเทศชาติ โดยไม่ควรเรียกร้องอะไรมากนัก ถ้าเรายังมีวันนักข่าว ก็แปลว่าเรายกตัวเองเหนือคนอื่น ถึงขนาดประกาศให้มีวันพิเศษขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในอดีต เคยกำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย ดูจะเป็นการให้ความสำคัญจนเกินเหตุไป ในทางที่ถูก เราควรใช้ชีวิตอย่างธรรมดาๆ ทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งเหมือนกันทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันของบุคคลในอาชีพนี้
แต่กลุ่มที่เห็นว่าควรให้ความสำคัญ ก็เถียงว่า เหตุที่อยากให้มีวันนักข่าว และเน้นให้เห็นความสำคัญของวันนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อตัวนักข่าวเท่านั้น สิ่งที่ต้องการคือการยํ้าให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้นคือ ผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ใช้ปากกาและใช้หน้ากระดาษแสดงความคิดความเห็นแทนประชาชนว่าอย่างนั้น เถิด การมีวันนักข่าวจึงเท่ากับการมีอะไรสักอย่าง ที่เป็นเครื่องเตือนใจนักข่าวทั้งหลายให้ระมัดระวังตัวเอง ไม่เอาสิทธิของประชาชนไปใช้ผิดๆ หรือทำผิดๆจนกลายเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโดยความคึกคะนอง ทุกครั้งที่สื่อมวลชนติติง วิพากษ์วิจารณ์ใคร จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอๆว่า เรากำลังวิจารณ์แทนประชาชน มิใช่วิจารณ์ตามอำเภอใจ หรือตามแต่ใจเรา ดังนั้นถ้าเรามีวันนักข่าวพร้อมกับกำหนดกิจกรรมให้วันนี้ เป็นวันที่มีความหมายในทางสร้างสรรค์ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ และจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมในที่สุด
หลังจากที่แสดงความคิดเห็นกันอยู่ระยะหนึ่ง ผลก็ออกมาในลักษณะพบกันครึ่งทางดังจะเห็นได้ว่าในห้วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ วันนักข่าวค่อยๆแปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่เคยกำหนดให้วันนักข่าวเป็นวันหยุดของนักข่าวทั้งหลายก็เลิกล้มไป ปัจจุบันนี้ วันนักข่าว เป็นวันทำงาน (อย่างเต็มที่) ของหนังสือพิมพ์ทุกๆฉบับ มิใช่วันหยุดสำหรับการออกไปพักผ่อน เฮฮา ดังเช่นในอดีต
กำเนิดวันนักข่าว
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 โดยนักข่าวรุ่น บุกเบิก จำนวน 15 ท่าน คือ
นายโชติ มณีน้อย
นายเท่ห์ จงคดีกิจ
นายประจวบ อัมพะเสวต
นายวิเชียร โรจนวงศานนท์
นายถาวร มุ่งการดี
นายสนิท เอกชัย
นายเชาว์ รูปเทวินทร์
นายจรัญ โยบรรยงค์
นายกุศล ประสาร
นายชลอ อาภาสัตย์
นายอนงค์ เมษประสาท
นายวิสัย สุวรรณผาติ
นายนพพร ตุงคะรักษ์
นางวิภา สุขกิจ
นายเลิศ อัศเวศน์ นั ดหมายกันที่ศาลานเรศวร ในสวนลุมพินี โดยมี นายชาญ สินศุข จากสยามนิกร เป็นประธานการประชุม
โดยหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ต่างก็ให้ความสำคัญกับวันสำคัญของพวกตนเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นประเพณีที่ ทราบกัน ระหว่างหนังสือพิมพ์กับผู้อ่าน ว่า วันที่ 6 มีนาคม ของทุกปี จะไม่มีหนังสือพิมพ์วางจำหน่าย เนื่องจากเป็นวันหยุดงานประจำปีของบรรดากระจอกข่าวทั้งหลายนั่นเอง แต่แล้วหนังสือพิมพ์ก็แอบออกวางจำหน่ายในวันที่ 6 มีนาคม เนื่องจากประชาชนผู้อ่านตื่นตัว และต้องการรับข่าวสารมากขึ้น จึงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นต้องเลิกประเพณีดังกล่าวไป
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อให้วันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดเฉลิมฉลองกันอย่างเต็มที่ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี แต่เดิมมา งานทั้งสองจัดขึ้น ณ ที่ทำการสมาคมฯ อาคาร 8 ถนนราชดำเนิน ซึ่งบริเวณริมฟุตบาทใกล้เคียง ก็เป็นสถานที่ซึ่งบรรดาเหยี่ยวข่าว นัดพบปะสังสรรค์กันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ในช่วงหลัง จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมาก และถนนราชดำเนินยังเป็นถนนสายหลัก มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก รวมถึงสถานที่ยังคับแคบ ส่งผลให้สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้สัญจรไปมา จึงได้ย้ายสถานที่จัดการประชุมไปยังโรงแรมต่างๆ ตามความเหมาะสม
ต่อมา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เข้ารวมกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กลายเป็น “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 แต่ยังคงกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมฯ และวันนักข่าว จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมวันนักข่าว
* กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์วันนักข่าว อาทิ การประกาศยกย่องหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าว ช่างภาพ ที่มีผลงานยอดเยี่ยม สมควรได้รับรางวัล “อิศรา อมันตกุล”
* กิจกรรมพบปะสังสรรค์ในระยะสั้นๆในห้วงเวลาเย็นๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมง เพื่อให้นักข่าวจากทุกสำนักมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
* กิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พี่ป้าน้าอา หรือเพื่อนๆ นักข่าวผู้ล่วงลับ โดยมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัดชนะสงครามทุกๆปี
กลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรให้ความสำคัญ ให้เหตุผลว่า เพราะนักข่าวควรเป็นบุคคลที่ถ่อมตัว สมถะ ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประชาชน เพื่อชุมชนและเพื่อประเทศชาติ โดยไม่ควรเรียกร้องอะไรมากนัก ถ้าเรายังมีวันนักข่าว ก็แปลว่าเรายกตัวเองเหนือคนอื่น ถึงขนาดประกาศให้มีวันพิเศษขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในอดีต เคยกำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย ดูจะเป็นการให้ความสำคัญจนเกินเหตุไป ในทางที่ถูก เราควรใช้ชีวิตอย่างธรรมดาๆ ทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งเหมือนกันทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันของบุคคลในอาชีพนี้
แต่กลุ่มที่เห็นว่าควรให้ความสำคัญ ก็เถียงว่า เหตุที่อยากให้มีวันนักข่าว และเน้นให้เห็นความสำคัญของวันนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อตัวนักข่าวเท่านั้น สิ่งที่ต้องการคือการยํ้าให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้นคือ ผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ใช้ปากกาและใช้หน้ากระดาษแสดงความคิดความเห็นแทนประชาชนว่าอย่างนั้น เถิด การมีวันนักข่าวจึงเท่ากับการมีอะไรสักอย่าง ที่เป็นเครื่องเตือนใจนักข่าวทั้งหลายให้ระมัดระวังตัวเอง ไม่เอาสิทธิของประชาชนไปใช้ผิดๆ หรือทำผิดๆจนกลายเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโดยความคึกคะนอง ทุกครั้งที่สื่อมวลชนติติง วิพากษ์วิจารณ์ใคร จะต้องระมัดระวังอยู่เสมอๆว่า เรากำลังวิจารณ์แทนประชาชน มิใช่วิจารณ์ตามอำเภอใจ หรือตามแต่ใจเรา ดังนั้นถ้าเรามีวันนักข่าวพร้อมกับกำหนดกิจกรรมให้วันนี้ เป็นวันที่มีความหมายในทางสร้างสรรค์ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ และจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมในที่สุด
หลังจากที่แสดงความคิดเห็นกันอยู่ระยะหนึ่ง ผลก็ออกมาในลักษณะพบกันครึ่งทางดังจะเห็นได้ว่าในห้วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ วันนักข่าวค่อยๆแปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่เคยกำหนดให้วันนักข่าวเป็นวันหยุดของนักข่าวทั้งหลายก็เลิกล้มไป ปัจจุบันนี้ วันนักข่าว เป็นวันทำงาน (อย่างเต็มที่) ของหนังสือพิมพ์ทุกๆฉบับ มิใช่วันหยุดสำหรับการออกไปพักผ่อน เฮฮา ดังเช่นในอดีต
กำเนิดวันนักข่าว
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 โดยนักข่าวรุ่น บุกเบิก จำนวน 15 ท่าน คือ
นายโชติ มณีน้อย
นายเท่ห์ จงคดีกิจ
นายประจวบ อัมพะเสวต
นายวิเชียร โรจนวงศานนท์
นายถาวร มุ่งการดี
นายสนิท เอกชัย
นายเชาว์ รูปเทวินทร์
นายจรัญ โยบรรยงค์
นายกุศล ประสาร
นายชลอ อาภาสัตย์
นายอนงค์ เมษประสาท
นายวิสัย สุวรรณผาติ
นายนพพร ตุงคะรักษ์
นางวิภา สุขกิจ
นายเลิศ อัศเวศน์ นั ดหมายกันที่ศาลานเรศวร ในสวนลุมพินี โดยมี นายชาญ สินศุข จากสยามนิกร เป็นประธานการประชุม
โดยหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ต่างก็ให้ความสำคัญกับวันสำคัญของพวกตนเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นประเพณีที่ ทราบกัน ระหว่างหนังสือพิมพ์กับผู้อ่าน ว่า วันที่ 6 มีนาคม ของทุกปี จะไม่มีหนังสือพิมพ์วางจำหน่าย เนื่องจากเป็นวันหยุดงานประจำปีของบรรดากระจอกข่าวทั้งหลายนั่นเอง แต่แล้วหนังสือพิมพ์ก็แอบออกวางจำหน่ายในวันที่ 6 มีนาคม เนื่องจากประชาชนผู้อ่านตื่นตัว และต้องการรับข่าวสารมากขึ้น จึงทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นต้องเลิกประเพณีดังกล่าวไป
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อให้วันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดเฉลิมฉลองกันอย่างเต็มที่ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี แต่เดิมมา งานทั้งสองจัดขึ้น ณ ที่ทำการสมาคมฯ อาคาร 8 ถนนราชดำเนิน ซึ่งบริเวณริมฟุตบาทใกล้เคียง ก็เป็นสถานที่ซึ่งบรรดาเหยี่ยวข่าว นัดพบปะสังสรรค์กันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ในช่วงหลัง จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมาก และถนนราชดำเนินยังเป็นถนนสายหลัก มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก รวมถึงสถานที่ยังคับแคบ ส่งผลให้สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้สัญจรไปมา จึงได้ย้ายสถานที่จัดการประชุมไปยังโรงแรมต่างๆ ตามความเหมาะสม
ต่อมา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เข้ารวมกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กลายเป็น “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 แต่ยังคงกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมฯ และวันนักข่าว จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมวันนักข่าว
* กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์วันนักข่าว อาทิ การประกาศยกย่องหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าว ช่างภาพ ที่มีผลงานยอดเยี่ยม สมควรได้รับรางวัล “อิศรา อมันตกุล”
* กิจกรรมพบปะสังสรรค์ในระยะสั้นๆในห้วงเวลาเย็นๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมง เพื่อให้นักข่าวจากทุกสำนักมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
* กิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พี่ป้าน้าอา หรือเพื่อนๆ นักข่าวผู้ล่วงลับ โดยมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัดชนะสงครามทุกๆปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น