วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันมาฆะบูชา





"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชา พระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อจะยังพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน" สันนิบาต"แปลว่า ประชุม ฉะนั้น จาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า"การประชุมด้วยองค์ ๔ "กล่าวคือ มีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรใน ตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระ แสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวายดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ



ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา

พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้ ในอดีตมาฆบูชานี้แต่เดิมไม่เคยทำกัน เพิ่งเกิดขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความสำคัญของวันมาฆะ จึงโปรดให้ให้มีพระราชพิธีประกอบการขึ้นในวัดพระศรีรัตรนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2394 และกระทำสืบไปตลอดกาล ต่อมาพิธีในวันมาฆบูชาก็ได้แพร่หลาย และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอกิจกรรมทางศาสนา
มีลักษณะพิเศษ 4 ประการ เรียกว่า"จาตุรงคสันนิบาต" กล่าวคือ
1. เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือมาฆมาส

2. มีพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย 1,250 รูป
3. พระสงฆ์เหล่านนี้ล้วนเป็นพระที่บวชโดยพระพุทะเจ้าทั้งสิ้น เรียกว่า "เอหิภิกขุสัมปทา"
4. พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้นพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา เสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญ ที่ใช้เป็นกฎหมายแม่บทอันสำคญสูงสุดของประเทศ คือ ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ ให้พระสาวกถือเป็นหลักปฏิบัติเพื่อนำไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีเนื้อหา 3 ประการ
1. อุดมการณ์ พระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายสูงสุด ได้แก่พระนิพพาน คือการดับสูญจากกิเลศและทุกข์ทั้งปวง อันจะทำสำเร็จได้ด้วยพึ่งตน พากเพียร ด้วยการกระทำของตนเอง ไม่ใช่สำเร็จด้วยการอ้อนวอนร้องขอจากเทพองค์ใด
2. หลักการ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำกุศลธรรมความดีให้พร้อม ทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
3. วิธีการ พุทธวิธีในการนำธรรมมะสู่จิตใจชาวโลกด้วยเมตตาไม่กล่าวร้ายใคร ไม่มีการทำร้ายใคร รักษาวินัยเคร่งครัด รู้จักประมาณในการกินอาหาร อยู่ในที่อันสงบสงัด ฝึกฝนพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นด้วยการบำเพ็ญสมาธิอยู่เสมอ





ไม่มีความคิดเห็น: