วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันงดสูบบุหรี่โลก



วันงดสูบบุหรี่โลก (อังกฤษ: World No Tobacco Day) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
ความเป็นมา

: เริ่มมีการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก ก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรค มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค บุหรี่ยังทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) ซึ่งในปีนี้ ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน และให้บุคลากรสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ ภายใต้คำขวัญว่า “Health Professionals Against Tobacco” หรือ “ ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่” โดยกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายได้กำหนดให้ใช้ดอกลีลาวดีเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์

โทษของการสูบบุหรี่
1. โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลวิจัย เมื่อ พ.ศ. 2521 ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
2. โรคทางเดินหายใจ ผู้สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ แต่เมื่อหยุดสูบอาการจะบรรเทาและหายไปในที่สุด นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด วันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้ปอดไม่สามารถแรกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้มากเท่าเดิมจึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รถไฟ TGV


รถไฟ TGV

รถไฟ TGV POS (ภาษาฝรั่งเศส train à grande vitesse แปลว่า รถไฟความเร็วสูง) (หมายเลข 4401-4419)เป็นหนึ่งในรถไฟความเร็วสูง ที่ให้บริการโดย SNCF (ภาษาฝรั่งเศส:Société Nationale des Chemins de fer Français แปลว่า การรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส) ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทอัลสธอม (ALSTOM)ปัจจุบัน TGV POS หมายเลข 4402 (ใช้ชื่อว่า V150) สามารถทำลายสถิติความเร็วที่สุดในโลกของ TGV Atlantique หมายเลข 325 สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 574.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] ในการวิ่งทดสอบเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยใช้ขบวนรถที่มีการปรับแต่งเป็นพิเศษ สำหรับสร้างสถิติโลก
TGV POS ย่อมาจาก Paris-Ostfrankreich-Süddeutschland ในภาษาเยอรมัน (แปลว่า "ปารีส-ทางตะวันออกของฝรั่งเศส-ทางใต้ของเยอรมนี")


ลักษณะโดยทั่วไป



รถไฟ TGV POS นั้น เป็นหนึ่งในตระกูล Generation ที่ 3 ของรถไฟ TGV(ได้แก่ TGV Duplex,Thalys PBKAและ TGV POS ) ซึ่งผลิตโดย ALSTOM ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยรถกำลังของ TGV POS มีกำลัง 12,900 แรงม้า ใช้ไฟฟ้า 25kV และสามารถใช้กำลังไฟในย่านต่างๆกันได้ โดยรับไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าเหนือราง โดยใช้เสาสาลี่ (pantograph)มีความเร็วสูงสุด 320 กม/ชม.(ยกเว้นหมายเลข 4402 เร็วสูงสุด 574.8 กม./ชม.) ส่วนรถโดยสารนั้น ใช้โบกี้รถโดยสารเก่าที่ได้มาจากการดัดแปลง TGV Réseauบางส่วนให้กลายเป็น TGV Réseau-Duplex (TGV-RD) (ใช้โบกี้รถโดยสารสองชั้น (Duplex) แทนโบกี้รถโดยสารชั้นเดียว) นำมาปรับปรุงทั้งภายในและภายนอกให้มีความสวยงามและสะดวกสบายยิ่งขึ้นและเรียกซีรี่ย์โบกี้รถโดยสารเหล่านั้นว่า Lacroix ภายในให้บริการผู้โดยสารชั้นสองและชั้นหนึ่ง มีเบาะที่สามารถปรับเอนได้ รวมทั้งมีภัตตาคารอยู่ที่โบกี้กลางขบวนรถ (ประมาณโบกี้ที่ 4) รวมทั้งยังมีที่นั่งสำหรับเด็ก ครอบครัว และที่ยึดรถเข็นสำหรับคนพิการ โดยได้ติดมอเตอร์ไฟฟ้าไว้ในทุกแคร่ล้อระหว่างโบกี้ เพื่อเพิ่มกำลังให้แก่รถ

น้ำตกแม่ยะ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

น้ำตกแม่ยะ

เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้นๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร

น้ำตกแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่

น้ำตกแม่ยะ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ มีความสวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบยอดน้ำตกของ ประเทศไทย สายน้ำจะไหลลงมาตามหน้าผาสูงชันราว 280 เมตร กระทบโขดหินเป็นชั้น ๆ เหมือนม่านน้ำ แล้ว ไหลลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำใสเบื้องล่าง สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย รอบ ๆ บริเวณเป็นป่าเขาร่มรื่นเงียบสงบ
ปริมาณน้ำมากมายมหาศาลของน้ำตกแม่ยะ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนนั้น เกิดจากต้นน้ำในผืนป่าสูงบนยอดดอยอิน ทนนท์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย นอกจากน้ำตกแม่ยะแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถขึ้นไปเที่ยวชม ความงดงามของน้ำตกอื่น ๆ บนดอยอินทนนท์ได้อีก รวมทั้งศึกษาธรรมชาติในป่าดึกดำบรรพ์บริเวณอ่างกาหลวง ซึ่งทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางไว้ให้

สวยสุดๆน่าไปเที่ยวจังเล๋ยเน๋อะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันต้นไม้แห่งชาติ

วันต้นไม้แห่งชาติ



ป่าไม้นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการในด้านบริโภคย่อมขยายตัวตามไปด้วย แต่เนื่องจากทรัพยากรบางประเภทมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน ป่าไม้ สินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ โดยเฉพาะ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย แต่การปลูกทดแทนต้องรอเวลาและใช้งบประมาณสูงในการดูแลรักษาทำนุบำรุง


ดังนั้นปลายปี พ.ศ.2528 รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อให้การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องเป็นแผนระยะยาว และประสานสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรชนิดอื่นๆ และเพื่อให้ส่วนราชการรวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้มีความเข้าใจร่วมกันและถือปฏิบัติไปในทางเดียวกัน


นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้กำหนดไห้ให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้ได้กำหนดไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและนันทนาการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 25 นั้น รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นป่าเศรษฐกิจเพื่อการผลิตไม้และของป่า


คุณประโยชน์ป่าไม้สำหรับมนุษย์และสัตว์โลกนั้น มัทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงได้แก่การนำมาเป็นอาหาร ยารักาาโรค ที่อยู่อาศัย ทำเส้นใยเครื่องนุ่งห่ม ทำสิ่งปลูกสร้างอาศัย ใช้เป็นวัตถุเคมี ฯลฯ


ในทางอ้อม ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ฝนตก และทำให้เกอดความชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาความร้ายแรงของพายุ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ฯลฯ
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ป่าไม้ได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วทั้งจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า อันเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดมาใช้อย่างขาดแผนการดูแลบำรุงรักษาและปลูกทดแทน
เพื่อให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ปี พ.ศ.2528 - 2531 เป็นปีต้นไม้แห่งชาติและกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันต้นไม้แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มต่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต






ต้นไม้น่ารักษา ทุกคนจ๋าอย่าทำลาย




วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



ประวัติ

พระราชพิธิพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ พิธีพืชมงคล กับพิธีแรกนาขวัญ พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ้าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงาม พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหวานเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงพระราชพิธีแรกนาขวัญไว้ดังนี้


การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมโบราณ เช่น ในเมืองจีนเมื่อสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงไถนาเองเป็นคราวแรก ส่วนจดหมาย ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่ปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอ ด้วยการนี้ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญจะได้เลี้ยงชีวิตทั่วหน้า
การแรกนาขวัญในกรุงเทพ นี้ มีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลไม่ได้ยกเว้น แต่ถือเป็นตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพคู่กับยืนชิงช้า เจ้าพระยาพลเทพแรกนายืนชิงช้าผู้เดียว ไม่ได้ผลัดเปลี่ยน ครั้นต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าพระยาเทพพลป่วย ก็โปรดให้พระยาประชาชีพแทนบ้าง
ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกือบตกเป็นธรรมเนียมว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย
ครั้นมาในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี และทรงเพิ่มพิธีสงฆ์นอกเหนือจากเมื่อก่อน มีเฉพาะพิธี เมื่อทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในพระราชพิธีต่าง ๆ จึงได้เพิ่มในจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ด้วย แต่ยกเป็นพิธีหนึ่งตากหากเรียกว่าพืชมงคล พราหมณ์ และทรงสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฏร ์ เมื่อโปรดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลขึ้น จึงได้มีนางเทพีสี่คน จัดเจ้าจอมเถ้าแก่ที่มีทุนรอนพาหนะพอจะแต่งตัวและที่เครื่องใช้ไม้สอย ติดตามไปหาบกระเช้าข้าวโปรย เมื่อวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล ก็ให้ฟังสวดพร้อมด้วยพระยาแรกนาและให้มีการราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐ ซึ่งเป็นพระเจ้าเกิดในสมัยรัชกาลนั้นประพรมที่แผ่นดินนำหน้าพระยาที่แรกนา พระราชพิธีนี้ ในเวลาบ่ายวันที่จะสวดมนต์ก็มรกระบวนการแห่พระพุทธรูป ออกไปจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม .........................พระราชพิธีจรดพระนังคัล เริ่มแต่บ่ายวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล มีกระบวนแห่ๆ พระเทวรูปพระอิศวร 1 พระอุมาภควดี 1 พระนารายณ์ 1 พระมหาวิฆเนศวร 1 พระพลเทพแบกไถ 1 กระบวนแห่ มีธง มีคู่แห่เครื่องสุงกลองชนะ คล้ายกันกับที่แห่พระพุทธรูป เป็นแต่ลดหย่อนลงมาบ้าง ออกจากพระบรมมหาราชวังไปทางบก เข้าโรงพิธีทุ่งสัมป่อยหน้าหลวง เวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีทำการพระราชพิธีเหมือนอย่างพิธีทั้งปวง วันรุ่งขึ้นเวลาตั้งแต่เช้า กระบวนแห่ต่าง ๆ พระยาผู้แรกนา กำหนดเกณฑ์คนเข้ากระบวนแห่ 500 กระบวน เมื่อถึงโรงพระราชพิธีเข้าจุดเทียนบูชาพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐานจับผ้า 3 ผืน เมื่อจับได้ผ้าผืนใดก็นุ่งผ้าผืนนั้น นุ่งอย่างบ่าวขุนออกไปแรกนา มีราชบัญฑิตคนหนึ่ง เชิญเต้าเทวบิฐประน้ำพระพุทธมนต์ไปหน้า พราหมณ์เชิญพระพลเทพคนหนึ่งเป่าสังฆ์ 2 คน พระยาจับยามไถ พระมหาราชครูพิธียืนประตักด้านหุ้มแดงไถดะ ไปโดนรี 3 รอบ แล้วไถแปรโดยกว้าง 3 รอบ นางเทพีทั้งสี่จึงหาบกระเช้าข้าวปลูก กระเช้าทอง 2 คน กระเช้าเงิน 2 คน ออกไปให้พระยาโปรยหว่านข้าว และไถกลบอีกสามรอบ หลังจากนั้นปลดพระโคออกกินเลี้ยงของเสี่ยงทาย 7 สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า ถ้าพระโคกินสื่งใดก็จะมีคำทำนาย



ความสำคัญ


การเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์อย่างมาก เพราะธัญญาหารที่บรรดาเหล่าเกษตรกรปลูกได้ในแต่ละปี ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ดัดแปลงเป็นอุปโภคต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
วันพืชมงคล เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเกี่ยวกับการเพาะปลูก เนื่องจากเห็นความสำคัญของการเมล็ดพืชพันธุ์อันเป็นปัจัจัยสำคัญต่อวิถีการผลิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติ นอกเหนือจาการมีแผนดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำฝนที่มีปริมาณเพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ แล้ว หากได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่ได้รับการเลือกสรร รวมทั้งเกษตรกรมีขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการลงทุนเพาะปลูก ทางราชการหรือผู้ปกครองตนให้การดูแลเอาใจใส่ การเกษตรของประเทศจะพัฒนามากยิ่งขิ้น ด้วยเหตุนี้ ทุกปีทางราชการจึงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น โดยกำหนดในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

พิธีกรรมในปัจจุบัน

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาขวัญก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุฑูต และประชาชนจำนวนมากมาชมการแกรนาขวัญ เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคล





หมายเหตุ วันพืชมงคลในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรกระทำในวันพืชมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. จัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพืชมงคลรวมทั้งพระราชพิธีนังคัลแระนาขวัญ

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันฉัตรมงคล

วันฉัตรมงคล




ความสำคัญ

วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี
อาณาจักรเริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร
2.พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์
3. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
4. พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง
5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี




กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชก
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน